เมนู

ปฏิสัมภิทาญาณ 4 อันพระอริยบุคคลนั่นแหละ จะต้องได้ขึ้นแสดงต่อ
จากผัสสนญาณนั้น.
แม้ในปฏิสัมภิทา 4 นั้น อรรถะคือผลธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย
ย่อมปรากฏดุจทุกขสัจจะ และเป็นธรรมอันใคร ๆ จะพึงรู้ได้โดยง่าย
เพราะฉะนั้นท่านจึงยก อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดงก่อน, ต่อแต่
นั้นก็ยก ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดง เพราะอรรถะนั้นเป็นวิสัย
แห่งธรรมอันเป็นเหตุ, ต่อแต่นั้นจึงยกเอานิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
เพราะอรรถะและธรรมทั้ง 2 นั้นเป็นวิสัยแห่งนิรุตติ, และต่อจากนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาญาณนั้น ท่านก็ยกเอา ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดง
เพราะเป็นไปในญาณแม้ทั้ง 3 เหล่านั้น. แต่อาจารย์บางพวกทำทีฆะป-
อักษะแล้วสวดก็มี.

29 - 31. อรรถกถาวิหารัฏฐสมาปัตตัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย วิหารัฏฐญาณและสมาปัตตัฏฐญาณ


ญาณทั้งหลายอื่นจากนี้ 3 ญาณมีวิหารัฏฐญาณเป็นต้น ท่านยก
ขึ้นแสดงต่อจากปฏิสัมภิทาญาณ เพราะเกิดแก่พระอริยบุคคลเท่านั้น
และเพราะเป็นประเภทแห่งปฏิสัมภิทา.

จริงอยู่ วิหารัฏฐญาณ เป็นธรรมปฏิสัมภิทา, สมาปัตตัฏฐญาณ
เป็นอรรถปฏิสัมภิทา. แท้จริง ญาณในสภาวธรรม ท่านกล่าวไว้ใน
ปฏิสัมภิทากถา1ว่า ธรรมปฏิสัมภิทา. ส่วนญาณในนิพพานเป็น
อรรถปฏิสัมภิทานั่นแหละ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิหารนานตฺเต - ในความต่างแห่ง
ธรรมเป็นเครื่องอยู่
ความว่า ในธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือวิปัสสนา
ต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น.
คำว่า วิหารฏฺเฐ - ในอรรถว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่ ได้แก่
ในธรรมเป็นเครื่องอยู่คือมีวิปัสสนาเป็นสภาวะ.
คำว่า วิหาโร ได้แก่ วิปัสสนาพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั่นเอง2.
คำว่า สมาปตฺตินานตฺเต - ในความต่างแห่งสมาบัติ ความว่า
ในผลสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตนิพพานเป็นต้น.
คำว่า สมาปตฺติ - สมาบัติ ได้แก่ จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย
อันเป็นโลกุตรผล.
คำว่า วิหารสมาปตฺตินานตฺเต ในวิหารธรรมและความ
ต่างแห่งสมาบัติ
ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งญาณทั้ง 2.
1. ขุ.ปุ. 31/603. 2. สัมปยุตธรรม ได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตจิต 4
เจตสิก 35 (เว้นอัปปมัญญา 2 เพราะในขณะวิปัสสนาเกิดไม่มีสัตวบัญญัติ
เป็นอารมณ์, และปัญญาเจตสิกอีก 1 เพราะปัญญาเป็นตัววิปัสสนา)


32. อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณุทเทส


ว่าด้วย อานันตริกสมาธิญาณ


ญาณทั้ง 21 นั้นแล อันพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้ประสงค์จะ
กล่าวโดยประการอื่นอีกให้พิเศษด้วยเหตุอันแสดงถึงความที่มรรคญาณ
แม้ที่กล่าวแล้วในก่อนว่า ทุภโต วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญา - ปัญญา
ในการออกและหลีกจากกิเลสขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้ง 2

อันให้สำเร็จวิหารญาณและสมาปัตติญาณต่อจากญาณทั้ง 2 นั้น เป็น
ญาณอันสามารถตัดอาสวะได้เด็ดขาด และเป็นญาณอันให้ผลในลำดับ
ที่ยกขึ้นแสดงว่า อานนฺตริกสมาธิมฺหิ ญาณํ - ญาณในสมาธิอันมี
ในลำดับ
ต่อจากญาณทั้ง 2 นั้น.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อวิกฺเขปปริสุทฺธตฺตา - ความ
บริสุทธิแห่งสมาธิอันไม่ฟุ้งซ่าน
ความว่า จิตย่อมฟุ้งซ่านไปด้วย
ธรรมชาตินั้น ฉะนั้นธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า วิกเขปะ - ความฟุ้งซ่าน,
คำนี้เป็นชื่อของอุทธัจจะ, ธรรมชาตินี้มิใช่วิกเขปะ - ความฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
อวิกเขปะ ไม่ฟุ้งซ่าน, คำนี้เป็นชื่อของสมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจะ.
ความเป็นแห่งความบริสุทธิ์ ชื่อว่า ปริสุทธัตตะ - ความบริสุทธิ์,
ความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ ชื่อว่า อวิกเขปปริสุทธัตตะ - ความบริสุทธิ์แห่ง
1. สมาปัตตัฏฐญาณ, วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ.